แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency Medicine) เริ่มมีการฝึกอบรมตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 โดยมีระยะเวลาของการฝึกอบรมรวมทั้งสิ้น 3 ปี
ในช่วงเวลาของการฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้านจะได้ฝีกการทำงานในห้องฉุกเฉิน และ ห้องสังเกตอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน (ER-Observation Unit) มีการฝึกช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤต การทำ Ultrasound การทำหัตถการช่วยชีวิตต่างๆ การทำ Conferecne, Topic Review, Journal club, Simulation ใน case scenario ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีการฝึกหมุนเวียนในสาขาย่อยตามสถาบันและโรงเรียนแพทย์อื่น เช่น Prehospital care, Toxicology, Pediatric Emergency medicine, Critical care, Hypo-Hyperbaric, Aviation เป็นต้น
แพทย์ประจำบ้านจะได้มีโอกาสทำงานวิจัยด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 เรื่อง ในเรื่องที่ตนเองสนใจ โดยมีอาจารย์และทีมวิจัยของโรงพยาบาลเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด
นอกเหนือจากนี้ในช่วงเวลา 3 ปี แพทย์ประจำบ้านสามารถเลือกใช้เวลาของการ Elective ไปศึกษาการทำงานในห้องฉุกเฉินที่ต่างประเทศได้ โดยเฉพาะในสาขาย่อยที่สนใจ
บางครั้งการทำหัตถการกับผู้ป่วยอาจสร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ผู้ป่วยประสบมา ดังนั้นการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมเพื่อระงับความเจ็บปวด และอำนวยให้สามารถทำหัตถการง่ายขึ้นจึงเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งกับผู้ป่วยและแพทย์ เรามาสร้างห้องฉุกเฉินที่ปลอดความเจ็บปวดกันเถอะ “Painless ER”
เพื่อส่งเสริมให้การสื่อสารเพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิด พลาด และลดระยะเวลาในการปรึกษา ทางฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉินจึงจัดให้มีแนวทางปฏิบัติในการ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางขึ้น เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เข้าใจตรงกัน โดยวางแผน ให้มีการปรับปรุง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทันสมัยและเป็นไปตามองค์ความรู้ตามหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่เสมอและ เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด โดยแนวทางในหนังสือเล่มนี้ ได้มีการพัฒนาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง สาขาต่าง ๆ แล้ว